ข้อดี ข้อเสีย ของปืนลูกซองแบบปั้มแอคชั่น vs แบบออโต้

ปืนลูกซองแบบปั้มแอคชั่น
แบบปั้มแอคชั่น
ปืนแบบนี้จะใช้แรงของตัวเองบริหารปืน ดึงกระโจมมือมันเข้าหาตัว ลูกเลื่อนมันก็ถอยตาม ขอรั้งมันก็ดึงเอากระสุนออกจากรังเพลิง พอดันกลับลูกเลื่อนมันดันลูกใหม่เข้ารังเพลิง ตรงๆง่ายๆ
ข้อดี
– ไม่เลือกลูก แรงอ่อน แรงต่ำไม่มีปัญหามันเคี้ยวได้หมด
– ราคาถูกกว่า
– การดูแลรักษาทำได้ง่าย
– กลไกการทำงานไม่ซับซ้อน มีชิ้นส่วนขนาดเเล็กน้อยชิ้น ทำให้แข็งแรงทนทาน
– โอกาสขัดลำหรือไม่คัดปลอกมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย
– สามารถเปลี่ยนพานท้ายเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้หลายแบบตามต้องการ จะใช้ แบบด้ามสั้น,พานท้ายแบบพิสตอลกริฟ,แบบพับฐาน,แบบยืด-หดได้ ก็สามารถใส่ได้ทั้งนั้น
– หากต้องการความคล่องตัวสามารถตัดลำกล้องให้สั้นลงได้เท่าที่ต้องการโดยไม่ทำให้กลไกการทำงานของปืนติดขัด
– สามารถถอดเปลี่ยนลำกล้องให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานได้หลากหลาย โดยสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว (ในต่างประเทศ)
– เสียงที่เกิดจากการบริหารกระโจมมือเพื่อบริหารกลไก มีผลทางจิตวิทยาในการข่มขวัญฝ่ายตรงข้าม
ข้อเสีย
– ยิงซ้ำได้ช้ากว่าปืนออโต้(แต่ถ้าฝึกใช้จนชำนาญก็สามารถยิงซ้ำได้เร็วพอๆกันหรืออาจเร็วกว่า)
– ผู้ใช้ต้องฝึกฝนการใช้งานให้คุ้นเคยถึงจะสามารถใช้ปืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– เมื่อใช้กระสุนแบบเดียวกันแรงรีคอยล์จากปืนปั๊มจะมากกว่าแบบออโต้เล็กน้อย
– หากจำเป็นต้องยิงโดยใช้แขนเพียงข้างเดียวการยิงติดต่อกันอย่างรวดเร็วจะไม่สามารถทำได้
– หากต้องยิงในท่าที่ร่างกายหมอบราบกับพื้นปืนแบบปั๊มจะยิงได้ลำบากกว่า แบบออโต้ฯ

ปืนลูกซองแบบออโต้
แบบออโต้
แบบนี้ก็คือปืนมันจะทำงานของมันเอง หน้าที่ก็แค่ยกปืนขึ้นมา เอาลูกใส่ หันปืนให้ตรงเป้า กับเหนี่ยวไก แล้วก็ใส่ลูกตอนมันหมด แค่นี้ เรื่องอื่นปืนมันทำให้เอง
การทำงานมันก็มีสารพัดแบบ ที่นิยมกันก็มี 3 แบบใหญ่ๆ คือ
1.รีคอยล์ช่วงยาว
ลองนึกภาพตามนะ พอกระสุนมันระเบิดปุ๊ปมันจะมีแรงดันมาทางด้านหลังใช่ไหม คนที่คิดก็เลยเอาแรงที่ว่านี่มาใช้จะได้ไม่ต้องไช้แรงคนดึงปลอกออกจากรังเพลิงเหมือนปืนปั๊ม ถ้าลูกเลื่อนที่ปิดอยู่ด้านหลังไม่มีอะไรมากั้นมันก็ต้องถอยหลังมาเพราะกระสุนมันดันใช่ไหม ทีนี้พอกระสุนมันดันลูกเลื่อนมาจนสุด ปลอกกระสุนมันก็กระเด็นออกไป สปริงที่อยู่หลังลูกเลื่อนมันก็จะดันให้ลูกเลื่อนเดินหน้าผลักเอากระสุนนัดใหม่เข้ารังเพลิง มันก็แค่นี้ ฟังเหมือนง่าย แต่พอทำจริงๆมันไม่ง่าย เพราะแรงที่ว่านี่มันจะดันมาด้านหลังทันทีที่กระสุนระเบิด ขืนปล่อยให้มันหลุดออกมาตอนนั้น คนยิงก็หน้าตาบรรลัยหมด เลยต้องถ่วงเวลาให้แรงดันมันลดก่อนแล้วค่อยปล่อยให้มันหลุดออกมา ตรงนี้แหละที่ยาก ระบบแรกที่เอามาใช้ได้ผลก็คือ ระบบรีคอยล์ช่วงยาว หลักการมันก็คือ ล็อคลูกเลื่อนกับลำกล้องให้ติดด้วยกันก่อน พอกระสุนลั่นทั้งลำกล้องทั้งลูกเลื่อนมันก็ถอยหลังมาพร้อมกัน พอแรงดันลดลำกล้องก็จะหยุดถอยหลังปล่อยให้ลูกเลื่อนลากปลอกที่ยิงแล้วออกมา สปริงมันก็ดันลูกเลื่อนเดินหน้าผลักเอากระสุนนัดใหม่เข้ารังเพลิงไป แต่ไอ้ระบบนี้ลำกล้องทั้งดุ้นมันถอยหลังมาด้วยแรงถีบมันก็เลยมากกว่าที่ควรจะเป็น ยิงกันนานๆก็มีไหล่ทรุดกันบ้าง ต่อมาคนเลยคิดระบบใหม่ขึ้นมา ก็คือระบบที่สอง
2.ระบบแก็สออฟเพอร์เรท
ระบบนี้ลำกล้องมันจะไม่เคลื่อนถอยหลังมาด้วย แต่จะใช้แก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ของดินขับมาช่วยดันลูกเลื่อน ผลดีก็คือมันถีบเบากว่าเพราะแก๊สส่วนหนึ่งถูกเอามาใช้ดันลูกเลื่อน แต่มันก็มีข้อเสียคือถ้ารูแก๊สมันตันเพราะยิงมากๆ มีเขม่า มีเศษตะกั่วไปอุดช่องแก๊ส แก๊สไม่พอไปดันลูกเลื่อนมันก็ติด หรือว่ากระสุนที่เอ็งเอามาใช้มันแรงต่ำแก๊สน้อย แก๊สก็อาจไม่พอไปดันลูกเลื่อนทำให้ปืนขัดได้เหมือนกัน แต่ข้อหลังนี้ไม่ต้องกังวลมากนัก โรงงานมันแก้ปัญหานี้ได้แล้ว และปืนส่วนใหญ่เกิน 80 เปอร์เซ็น เป็นระบบนี้ทั้งนั้น
3.ระบบรีคอยล์ถ่วงเวลาด้วยลูกเลื่อนหมุนตัวขัดกลอน
ระบบนี้มันมีแค่สองยี่ห้อ คือเบเนลลีกับสโตเกอร์ ยี่ห้ออื่นเลียนแบบไม่ได้เพราะติดลิขสิทธิ์ แต่ทั้งสองยี่ห้อนี้มันมีเจ้าของคนเดียวกัน คือบริษัทเบเรตต้า เรื่องลิขสิทธิ์เลยไม่มีปัญหา
ข้อดีของปืนระบบนี้ก็คือ การทำงานเชื่่อถือได้ ไม่เลือกลูก แรงต่ำ,แรงสูงยิงได้หมด การทำความสะอาดก็ง่ายแบบเดียวกับปืนปั๊มคือล้างแค่ตัวลำกล้องกับหน้าลูก เลื่อนก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องไปใส่ใจกับการทำความสะอาดรูแก๊สหรือลูกสูบอย่างปืนที่ใช้ระบบแก๊ส ยิงติดต่อกันนานก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเขม่าหรือเศษตะกั่วจะไปอุดช่องแก๊สทำ ให้ปืนทำงานติดขัด ปืนแบบแก๊สหากยิงติดต่อกันนานๆกระโจมมือจะร้อนขึ้นเรื่อยๆเพราะมักจะออกแบบ ให้มีลูกสูบอยู่ใต้ลำกล้องแล้วเอากระโจมมือครอบปิดไว้ ความร้อนของแก๊สก็จะทำให้กระโจมมือร้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่ปืนระบบรีคอยล์อย่างสโตเกอร์และเบเนลลี่ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้
ทำให้มันได้เปรียบปืนลูกซองออโต้แบบอื่นๆ ดังนี้
– มีขนาดกะทัดรัดกว่าปืนออโต้ฯรุ่นอื่น คือมีขนาดใกล้เคียงกับเรมิงตัน 870 แถมน้ำหนักยังเบากว่า 870 เสียอีก เพราะโครงปืนทำด้วยอลูมีเนียมเกรดสูงแบบที่ใช้ทำเครื่องบิน
– ระบบการทำงานแบบนี้ทำให้สามารถออกแบบปืนให้มีลำกล้องสั้นได้เท่าที่ต้องการ จะให้ยาวเลยส่วนหน้าสุดของรังเพลิงมาแค่คืบเดียวก็ยังได้ โดยที่ปืนระบบแก๊ส ทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะความยาวลำกล้อง มีผลต่อการทำงานของปืน ถ้าลำกล้องสั้นเกินไปแรงดันแก๊สที่จะไปบริหารกลไกมีไม่พอปืนก็ติดขัด
– สามารถสามารถเปลี่ยนพานท้ายได้หลายแบบเช่นเดียวกับปืนแบบปั๊ม ในขณะที่ปืนลูกซองออโต้ฯรุ่นอื่นๆมักจะใส่ปริงรีคอยล์ไว้ในพานท้ายทำให้ไม่ สามารถเปลี่ยนแบบพานท้ายได้
ส่วนหลักการของการทำงานของระบบก็ นี้คือ ลูกเลื่อนจะมี 2 ส่วนคือส่วนที่อยู่ด้านนอกเรียกว่าเสื้อลูกเลื่อน โดยจะหุ้มตัวลูกเลื่อนด้านในไว้ และลูกเลื่อนด้านในจะหมุนตัวได้เพื่อขัดกลอน-ปลดกลอนกับส่วนท้ายลำกล้อง โดยจะปลดกลอนด้วยแรงเฉื่อยของเสื้อลูกเลื่อน เบเนลลี่เรียกระบบขัดกลอนแบบนี้ของตัวเองว่า “อินเนอร์เทีย” การทำงานก็จะมีวงจรดังนี้เอ็งลองนึกภาพตามนะ
เมื่อเราเหนี่ยวไกยิง พอกระสุนลั่นออกไปตัวปืนก็จะต้องเคลื่อนตัวถอยหลังตามแรงรีคอยล์มาทั้ง กระบอก รวมถึงตัวคนยิงเองก็จะโดนปืนผลักให้ถอยหลังมาด้วยเป็นระยะสั้นๆ ต่อจากนั้นธรรมชาติของเรา เวลายิงปืนเราก็จะต้องฝืนตัวเองเพื่อต้านแรงรีคอยล์ใช่ไหม เมื่อเราฝืนตัวต้านเอาไว้ ตัวปืนก็จะต้องหยุดการถอยหลังไปพร้อมกับเราด้วย
แต่ว่าตัวเสื้อลูกเลื่อนจะยังเคลื่อนถอยหลังต่อไปเพราะยังมีพลังงานสะสมอยู่ สปริงรีคอยล์ที่ยันเสื้อลูกเลื่อนเอาไว้ทางด้านหลังก็ไม่ได้แข็งแรงมากมายอะไร จึงยันเสื้อลูกเลื่อนไว้ไม่อยู่ ทำให้เสื้อลูกเลื่อนถอยหลังต่อไป พร้อมกันนั้นก็ได้ส่งแรงต่อไปยังลูกเลื่อนด้านในให้หมุนตัวปลดกลอนจากท้ายลำ กล้อง แรงดันในรังเพลิงก็จะดันปลอกกระสุนและลูกเลื่อนถอยหลังจนสุดระยะ ปลอกกระสุนก็จะกระเด็นออกจากตัวปืน สปริงรีคอยล์ที่หดตัวจนสุดก็จะดันลูกเลื่อนให้เคลื่อนที่ไปด้านหน้าดัน กระสุนนัดใหม่เข้ารังเพลิงแล้วหมุนตัวขัดกลอนกับท้ายลำกล้อง พร้อมยิงนัดที่สองต่อไป
สำหรับปืนระบบนี้ถ้าเรายันตัวปืนแบบที่ไม่ ยอมให้ตัวปืนถอยหลังเลย อย่างเช่นเอาพานท้ายยันกับต้นไม้หรือกำแพง ปืนก็จะไม่คัดปลอกเพราะเมื่อตัวปืนไม่ถอยหลังเลย ก็จะไม่มีพลังงานสะสมอยู่ในเสื้อลูกเลื่อน เมื่อไม่มีพลังงานมากระทำมันก็ไม่เคลื่อนที่ และถ้าเสื้อลูกเลื่อนไม่เคลื่อนที่เสียอย่างเดียวก็จะพลอยทำให้ไม่เกิดแรงไป บริหารกลไกอื่นๆ
และในทางตรงข้ามถ้าปล่อยให้ปืนถอยหลังเต็มที่โดยไม่มี การต้านให้ตัวปืนหยุดเลย เช่น ยิงในขณะที่ปืนแขวนอยู่กับเชื่อกแบบอิสระมันก็จะไม่คัดปลอกอีกเหมือนกัน เพราะเสื้อลูกเลื่อนก็จะถอยถามตัวปืนไปตลอดทาง เมื่อไม่มีแรงต้านใดๆเลยชิ้นส่วนทุกชิ้นก็ถอยหลังไปพร้อมกันทั้งหมดไม่เกิด การสะสมพลังในเสื้อลูกเลื่อนอีกเช่นเดียวกัน
สรุปแล้วข้อดีข้อเสียของปืนออโต้เป็นแบบนี้
ข้อดี
– ยิงซ้ำได้รวดเร็ว
– ใช้งานง่ายกว่าปืนปั๊ม
– แรงรีคอยล์นุ่มนวลกว่าปืนปั๊มเมื่อใช้กระสุนแบบเดียวกัน
– ในกรณีที่จำเป็นต้องยิงด้วยแขนเพียงข้างเดียว ปืนออโต้ฯสามารถยิงติดต่อกันได้โดยไม่เสียจังหวะหากเป็นปืนปั๊มที่ต้องใช้ แขนข้างนึงบริหารกลไกจะไม่สามารถทำได้
– สามารถบรรจุกระสุนเพิ่มในระหว่างการยิงได้โดยไม่ทำให้การยิงหยุดชะงัก(แบบ ปั๊มก็สามารถทำได้แต่ในระหว่างนั้นจะไม่สามารถยิงไปด้วยได้)
– สามารถยิงได้ด้วยแขนเพียงข้างเดียว
– ในท่าหมอบราบกับพื้นก็ยังสามารถยิงได้อย่างสะดวก
– ในกรณีที่ต้องการความเงียบ การขึ้นลำปืนสามารถทำได้โดยไม่เกิดเสียง (ค่อยๆผ่อนลูกเลื่อนโดยไม่ปล่อยให้ลูกเลื่อนเดินหน้าไปเต็มแรง)
ข้อเสีย (ในกรณีที่ปืนทำงานด้วยระบบแก๊สออฟเพอร์เรทซึ่งปืนลูกซองออโต้ฯส่วนใหญ่จะเป็นระบบนี้)
– โอกาสที่ปืนจะติดขัดมีมากกว่าปืนปั๊ม หากใช้กระสุนแรงต่ำอาจไม่คัดปลอก
– การทำความสะอาดยุ่งยากกว่าเพราะต้องทำความสะอาดรูแก๊สด้วย
– เมื่อยิงติดต่อกันหลายๆนัดความร้อนจากการยิงจะทำให้กระโจมมือร้อนเพราะโดยส่วนใหญ่แล้วลูกสูบมักอยู่ในกระโจมมือ
– คราบเขม่าหรือเศษตะกั่วอาจไปอุดรูแก๊สทำให้เกิดการทำงานติดขัดได้ถ้ายิงด้วยกระสุนจำนวนมากโดยไม่ทำความสะอาด
– บางรุ่นก็ไม่สามารถเปลี่ยนพานท้ายเป็นแบบอื่นๆเพื่อให้เหมาะกับรูปแบบการใช้ งานได้เพราะเอาสปริงรีคอยล์ไปไว้ในพานท้าย(หรือทำได้แต่ไม่สะดวก)
– ราคาแพงกว่าปืนแบบปั๊ม
ที่มา : สรุป เรื่องพื้นฐานของปืนลูกซอง
Like ให้ด้วยจะดีมาก